คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ HPV

มาฟังคุณหมออธิบายและตอบทุกคำถามเกี่ยวกับเชื้อ HPV และวัคซีน HPV
Ep.1
5 คำถามยอดฮิตของหมอสูติฯ
Ep.2
HPV ในผู้ชายเหมือนหรือแตกต่างจากในผู้หญิงอย่างไร
Ep.3
วัคซีน HPV ในผู้หญิง มีความสำคัญอย่างไร
Ep.4
หูดหงอนไก่ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด
Ep.5
HPV ใน กลุ่ม LGBTQ+ ความหลากหลายที่ห้ามมองห้าม
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
สามารถรับวัคซีน HPV ในวันเดียวกันกับวัคซีนชนิดอื่นได้ แต่ส่วนใหญ่ เรามักแนะนำให้ฉีดวัคซีนจำนวนไม่เกินสองเข็มในวันเดียวกัน
วัคซีน HPV สามารถให้พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ในวันเดียวกันได้ (ยกเว้นวัคซีนโควิด ให้ฉีดห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์) โดยฉีดที่หัวไหล่คนละข้าง1,2 ไม่มีผลเสียในการสร้างภูมิคุ้มกัน และไมได้เพิ่มอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน
หลังจากฉีดวัคซีน HPV ครบ
(2 เข็มในเด็กอายุต่ำกว่า 15 และ 3 เข็มในผู้ที่อายุมากกว่า 15 ปี)3
นานประมาณ 2-4 สัปดาห์ @font-face {font-family:SimSun; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-alt:宋体; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:515 680460288 22 0 262145 0;}@font-face {font-family:”Cordia New”; panose-1:2 11 3 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-charset:222; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-2130706429 0 0 0 65537 0;}@font-face {font-family:”Cambria Math”; panose-1:2 4 5 3 5 4 6 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-536870145 1107305727 0 0 415 0;}@font-face {font-family:Calibri; panose-1:2 15 5 2 2 2 4 3 2 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-469750017 -1073732485 9 0 511 0;}@font-face {font-family:”Browallia New”; panose-1:2 11 6 4 2 2 2 2 2 4; mso-font-alt:”Browallia New”; mso-font-charset:222; mso-generic-font-family:swiss; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:-2130706429 0 0 0 65537 0;}@font-face {font-family:”\@SimSun”; panose-1:2 1 6 0 3 1 1 1 1 1; mso-font-charset:134; mso-generic-font-family:auto; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:515 680460288 22 0 262145 0;}p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-unhide:no; mso-style-qformat:yes; mso-style-parent:””; margin-top:0cm; margin-right:0cm; margin-bottom:8.0pt; margin-left:0cm; line-height:107%; mso-pagination:widow-orphan; font-size:11.0pt; font-family:”Calibri”,sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:”Cordia New”; mso-bidi-theme-font:minor-bidi; mso-ansi-language:EN-US; mso-fareast-language:ZH-CN;}.MsoChpDefault {mso-style-type:export-only; mso-default-props:yes; font-size:11.0pt; mso-ansi-font-size:11.0pt; mso-bidi-font-size:11.0pt; font-family:”Calibri”,sans-serif; mso-ascii-font-family:Calibri; mso-ascii-theme-font:minor-latin; mso-fareast-font-family:SimSun; mso-fareast-theme-font:minor-fareast; mso-hansi-font-family:Calibri; mso-hansi-theme-font:minor-latin; mso-bidi-font-family:”Cordia New”; mso-bidi-theme-font:minor-bidi; mso-font-kerning:0pt; mso-ligatures:none; mso-ansi-language:EN-US; mso-fareast-language:ZH-CN;}.MsoPapDefault {mso-style-type:export-only; margin-bottom:8.0pt; line-height:107%;}div.WordSection1 {page:WordSection1;} ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ซึ่งมีระดับสูงเพียงพอในการป้องกันโรค
แม้ว่าระดับภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงเมี่อเวลาผ่านไป แต่ระดับภูมิคุ้มกันก็ยังสูงเพียงพอและคงอยู่ได้นาน และน่าจะป้องกันโรคได้นานตลอดชีวิต
จึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV เข็มกระตุ้นซ้ำอีก4
โดยสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีน
วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (สายพันธุ์) | ชนิด 2 สายพันธุ์8 | ชนิด 4 สายพันธุ9 | ชนิด 9 สายพันธุ์3 |
---|---|---|---|
สายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง(เสี่ยงสูง) | 16, 18 | 16, 18 | 16, 18, 52, 58, 31, 33, 45 |
สายพันธุ์ที่เกิดหูดที่อวัยวะเพศ (เสี่ยงต่ำ) | ✗ | 6, 11 | 6, 11 |
ป้องกันมะเร็งได้ | 4 ชนิด | 4 ชนิด | 6 ชนิด |
มะเร็งปากมดลูก (ป้องกันสายพันธ์ที่ก่อมะเร็งปากมดลูกได้ถึง)10 | 70% | 70% | 94% |
มะเร็งช่องคลอด | ✔ | ✔ | ✔ |
มะเร็งปากช่องคลอด | ✔ | ✔ | ✔ |
มะเร็งทวารหนัก (ทุกเพศ) | ✔ | ✔ | ✔ |
มะเร็งช่องปากและลำคอ (ทุกเพศ) | ✗ | ✗ | ✔ |
หูดหงอนไก่ (ทุกเพศ) | ✗ | ✔ | ✔ |
ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หรือตรวจหาเชื้อ HPV ‘ก่อน’ ฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากเชื้อ HPV5 ที่ตรวจพบอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโรค หรือในกรณีที่พบเซลล์ผิดปกติก็อาจไม่ได้เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน
อย่างไรก็ตาม แม้จะฉีดวัคซีน HPV แล้วยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก
เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์6 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลังมีเพศสัมพันธ์ เราจะติดเชื้อ HPV เสมอไป และแม้จะติดเชื้อ HPV ชนิดหนึ่งไปแล้ว แต่วัคซีน HPV ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีชนิดอื่นๆ ได้อีก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค
แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์4 และถึงแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีน HPV จะยังมีประโยชน์ด้วยเหตุผลดังนี้
- คู่นอนของเราอาจไม่มีเชื้อ HPV วัคซีน HPV จึงยังมีประโยชน์มาก
- เราอาจยังไม่ติดเชื้อ HPV ทั้งๆ ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ววัคซีน HPV จึงยังมีประโยชน์มาก
- แม้ว่าเราจะติดเชื้อ HPV ชนิดหนึ่งไปแล้ว แต่เชื้อ HPV มีหลายชนิด วัคซีน HPV จึงยังช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดอื่นๆ ได้ แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโรคจะลดลงบ้างก็ตาม4
โดยสรุป แม้ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว วัคซีน HPV จะยังคงมีประโยชน์ในการป้องกันโรค
วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง พบอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนได้บ้าง และส่วนใหญ่เป็นอาการข้างเคียงเฉพาะที่ คือ อาการเจ็บปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน4 และที่พบได้บ่อยเป็นอาการเจ็บขณะฉีดวัคซีน (ระหว่างเดินยา)
อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีนและอาการปวดแขนข้างที่ฉีดวัคซีนอาจพบได้ ซึ่งหายไปได้เองภายใน 3-5 วัน หรือบางครั้งอาจมีอาการอยู่นานเป็นสัปดาห์
อาการข้างเคียงอื่นๆ ของวัคซีน HPV เช่น ไข้ ผื่น ส่วนอาการหน้ามืดเป็นลมหลังฉีดวัคซีนพบได้บ้าง มักเกิดขึ้นภายใน 15-30 นาทีหลังฉีดวัคซีน อาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงพบน้อยมาก
ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน HPV
วัคซีน HPV มีข้อห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน และในหญิงตั้งครรภ์3,7 จึงแนะนำให้คุมกำเนิดไว้ก่อนระหว่างที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบ หากยังฉีดวัคซีนไม่ครบแล้วเกิดการตั้งครรภ์ แนะนำให้หยุดการฉีดวัคซีนไว้ก่อนและมาฉีดต่อให้ครบหลังคลอด เนื่องจากไม่มีรายงานผลของวัคซีน HPV ต่อทารกในครรภ์ จึงไม่แนะนำให้ทำแท้ง อย่างไรก็ตาม วัคซีน HPV สามารถให้ได้ในมารดาที่ให้นมบุตร4
ภาวะมีประจำเดือนไม่ได้เป็นข้อห้ามสำหรับการฉีดวัคซีน HPV อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม3