Close Mobile Navigation

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ HPV


มาฟังคุณหมออธิบายและตอบทุกคำถามเกี่ยวกับเชื้อ HPV และวัคซีน HPV




Ep.1
5 คำถามยอดฮิตของหมอสูติฯ


https://vimeo.com/529198179/c0e5efa108


Ep.2
HPV ในผู้ชายเหมือนหรือแตกต่างจากในผู้หญิงอย่างไร


https://vimeo.com/543052898/5cef82fe2c


Ep.3
วัคซีน HPV ในผู้หญิง มีความสำคัญอย่างไร




Ep.4
หูดหงอนไก่ เรื่องใหญ่กว่าที่คิด




Ep.5
HPV ใน กลุ่ม LGBTQ+ ความหลากหลายที่ห้ามมองห้าม



คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

วัคซีน HPV สามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่นได้หรือเปล่า และต้องเว้นกี่วัน?

สามารถรับวัคซีน HPV ในวันเดียวกันกับวัคซีนชนิดอื่นได้ แต่ส่วนใหญ่ เรามักแนะนำให้ฉีดวัคซีนจำนวนไม่เกินสองเข็มในวันเดียวกัน

วัคซีน HPV สามารถให้พร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ในวันเดียวกันได้ (ยกเว้นวัคซีนโควิด ให้ฉีดห่างกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์) โดยฉีดที่หัวไหล่คนละข้าง1,2 ไม่มีผลเสียในการสร้างภูมิคุ้มกัน และไมได้เพิ่มอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน

วัคซีน HPV ฉีดแล้วป้องกันได้นานแค่ไหน ต้องฉีดกระตุ้นอีกหรือไม่?

หลังจากฉีดวัคซีน HPV ครบ

(2 เข็มในเด็กอายุต่ำกว่า 15 และ 3 เข็มในผู้ที่อายุมากกว่า 15 ปี)3

นานประมาณ 2-4 สัปดาห์ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ซึ่งมีระดับสูงเพียงพอในการป้องกันโรค
แม้ว่าระดับภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงเมี่อเวลาผ่านไป แต่ระดับภูมิคุ้มกันก็ยังสูงเพียงพอและคงอยู่ได้นาน และน่าจะป้องกันโรคได้นานตลอดชีวิต

จึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV เข็มกระตุ้นซ้ำอีก4

โดยสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีน

วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (สายพันธุ์)ชนิด 2 สายพันธุ์8ชนิด 4 สายพันธุ9ชนิด 9 สายพันธุ์3
สายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง(เสี่ยงสูง)16, 1816, 1816, 18, 52, 58,
31, 33, 45
สายพันธุ์ที่เกิดหูดที่อวัยวะเพศ (เสี่ยงต่ำ)6, 116, 11
ป้องกันมะเร็งได้4 ชนิด4 ชนิด6 ชนิด
มะเร็งปากมดลูก (ป้องกันสายพันธ์ที่ก่อมะเร็งปากมดลูกได้ถึง)1070%70%94%
มะเร็งช่องคลอด
มะเร็งปากช่องคลอด
มะเร็งทวารหนัก (ทุกเพศ)
มะเร็งช่องปากและลำคอ (ทุกเพศ)
หูดหงอนไก่ (ทุกเพศ)

ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?

ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
หรือตรวจหาเชื้อ HPV ‘ก่อน’ ฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากเชื้อ HPV5 ที่ตรวจพบอาจไม่ได้ก่อให้เกิดโรค หรือในกรณีที่พบเซลล์ผิดปกติก็อาจไม่ได้เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีน

อย่างไรก็ตาม แม้จะฉีดวัคซีน HPV แล้วยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก

หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว การฉีดวัคซีน HPV ยังคงมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน?

เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์6 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลังมีเพศสัมพันธ์ เราจะติดเชื้อ HPV เสมอไป และแม้จะติดเชื้อ HPV ชนิดหนึ่งไปแล้ว แต่วัคซีน HPV ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีชนิดอื่นๆ ได้อีก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค

แนะนำให้ฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์4 และถึงแม้ว่าจะมีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีน HPV จะยังมีประโยชน์ด้วยเหตุผลดังนี้

  1. คู่นอนของเราอาจไม่มีเชื้อ HPV วัคซีน HPV จึงยังมีประโยชน์มาก
  2. เราอาจยังไม่ติดเชื้อ HPV ทั้งๆ ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ววัคซีน HPV จึงยังมีประโยชน์มาก
  3. แม้ว่าเราจะติดเชื้อ HPV ชนิดหนึ่งไปแล้ว แต่เชื้อ HPV มีหลายชนิด วัคซีน HPV จึงยังช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดอื่นๆ ได้ แม้ว่าประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันโรคจะลดลงบ้างก็ตาม4

โดยสรุป แม้ว่าจะเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว วัคซีน HPV จะยังคงมีประโยชน์ในการป้องกันโรค

อาการข้างเคียงของวัคซีนHPV มีอะไรบ้าง?

วัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยสูง พบอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนได้บ้าง และส่วนใหญ่เป็นอาการข้างเคียงเฉพาะที่ คือ อาการเจ็บปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน4 และที่พบได้บ่อยเป็นอาการเจ็บขณะฉีดวัคซีน (ระหว่างเดินยา)

อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีนและอาการปวดแขนข้างที่ฉีดวัคซีนอาจพบได้ ซึ่งหายไปได้เองภายใน 3-5 วัน หรือบางครั้งอาจมีอาการอยู่นานเป็นสัปดาห์

อาการข้างเคียงอื่นๆ ของวัคซีน HPV เช่น ไข้ ผื่น ส่วนอาการหน้ามืดเป็นลมหลังฉีดวัคซีนพบได้บ้าง มักเกิดขึ้นภายใน 15-30 นาทีหลังฉีดวัคซีน อาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น อาการแพ้วัคซีนชนิดรุนแรงพบน้อยมาก

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน HPV
วัคซีน HPV มีข้อห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน และในหญิงตั้งครรภ์3,7 จึงแนะนำให้คุมกำเนิดไว้ก่อนระหว่างที่ยังฉีดวัคซีนไม่ครบ หากยังฉีดวัคซีนไม่ครบแล้วเกิดการตั้งครรภ์ แนะนำให้หยุดการฉีดวัคซีนไว้ก่อนและมาฉีดต่อให้ครบหลังคลอด เนื่องจากไม่มีรายงานผลของวัคซีน HPV ต่อทารกในครรภ์ จึงไม่แนะนำให้ทำแท้ง อย่างไรก็ตาม วัคซีน HPV สามารถให้ได้ในมารดาที่ให้นมบุตร4

มีประจำเดือนฉีดวัคซีนได้มั้ย?

ภาวะมีประจำเดือนไม่ได้เป็นข้อห้ามสำหรับการฉีดวัคซีน HPV อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม3